วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่2 ประวัติความเป็นมา

บทที่2
ประวัติความเป็นมา
            ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil) คือ ซากหรือร่อง รอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก ประโยชน์ของฟอสซิล ฟอสซิลสามารถบอกให้เราทราบถึงชนิดรูปแบบและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วง ระยะเวลาทาง ธรณีวิทยารวมทั้งบ่งบอก สภาพแวดล้อมของ โลกในอดีตกาลอีกด้วยเนื่องจากในแต่ละช่วงระยะ เวลาทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น เฉพาะบางชนิดเท่านั้น จากการคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป(isotope)ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ(radioactive elements) ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ปี
(4.6 billion years) และแบ่งช่วง ระยะเวลาทางธรณีดังกล่าวออกเป็น บรมยุค(eon) มหายุค(era) ยุค (period) และ สมัย (epoch) ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินและสูญพันธุ์หมดสิ้นจากโลกนี้ เมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว ในปัจจุบันพบเพียงซากกระดูกส่วนต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่าฟอสซิลของไดโนเสาร์คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์ ที่ใหญ่โต มโหฬารหรือเป็นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์เช่นเดียวกับปลาวาฬ บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก แต่โดยความเป็นจริง ไดโนเสาร์มี ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่ขนาดใหญ่มหึมา น้ำหนักกว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต จนถึงพวกที่ขนาดเล็ก ๆ บางชนิดก็มีขนาดเล็กกว่าไก่ บางพวกเดินสี่ขา บางพวกก็เดินและวิ่งบนขาหลัง 2 ข้าง บางพวกกินแต่พืชเป็นอาหาร ในขณะที่อีกพวกหนึ่งกินเนื้อเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ไดโนเสาร์พวกแรก      ปรากฎขึ้นมาในโลกในช่วงตอนปลายของ  ยุคไทรแอสสิกเมื่อกว่า225ล้าน ปีมาแล้วเป็นเวลาที่ทวีปทั้งหลาย ยังต่อเป็นผืนเดียวกัน สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้มีชีวิตอยู่และมีวิวัฒนาการตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 160 ล้านปี กระจัด กระจายแพร่หลายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินในโลก แล้วจึงได้สูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุคครีเทชียสหรือเมื่อ 65 ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว ในขณะที่ต้นตระกูลของมนุษย์เพิ่งจะปรากฎในโลกเมื่อ 5 ล้านปีที่ผ่านมา หลังจาก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 60 ล้าน ปี ละเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นเพิ่งเริ่มต้นมาเมื่อไม่เกินหนึ่งแสนปีมา นี่เองมนุษย์มักจะคิดว่าไดโนเสาร์นั้นโง่และธรรมชาติสร้างมาไม่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม จึงทำให้มันต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด ความคิดนี้ไม่ถูก โดยแท้จริงแล้วไดโนเสาร์ได้เจริญแพร่หลายเป็น เวลายาวนานกว่า 30 เท่า ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในโลก ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไดโนเสาร์ได้มีวิวัฒนา การออกไปเป็นวงศ์สกุลต่าง ๆ กันมากมาย เท่าที่ค้นพบและจำแนกแล้วประมาณ 340 ชนิด และคาดว่า ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังรอคอยการค้นพบอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วโลก ทุกวันนี้ ทั่วโลกมีคณะสำรวจ ไดโนเสาร์อยู่ประมาณ 100 คณะทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ประมาณว่ามี การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้น1ชนิดในทุกสัปดาห์นักโบราณชีววิทยาแบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น2กลุ่มใหญ่โดยอาศัยความแตกต่างของกระดูกเชิงกรานคือ 

1. พวกซอริสเซียน (Saurischians) มีกระดูกเชิง กรานเป็นแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูก พิวบิส และอิสเชียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง
 2. พวกออรืนิธิสเชียน (Ornithiscians) มีกระดูก เชิงกรานเป็นแบบนก คือ กระดูกทั้งสอง (พิวบิสและอิสเชียม) ชี้ไปทางด้านหลัง ฟันของไดโนเสาร์ซอโรพอด พบจากแหล่งขุดค้นวัดสักกะวัน จ.กาฬสินธุ์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น