บทที่1
บทนำ
ไดโนเสาร์คือสัตว์มหัศจรรย์
พวกมันครองโลกยาวนานถึง ๑๖๐ ล้านปี แพร่กระจายไปทุกทวีปทั่วโลก
กระทั่งสูญพันธุ์ไปหมดสิ้นอย่างเป็นปริศนาเมื่อราว ๖๕ ล้านปีที่แล้ว
ทว่าถึงทุกวันนี้ผู้คนทั้งหลายยังคงสนใจหรือแม้กระทั่งหลงใหลไดโนเสาร์
อาจเป็นด้วยขนาดใหญ่มหึมาน่าตื่นตะลึง
หรือรูปร่างราวสัตว์ประหลาดที่หลุดจากจินตนาการ
เรารู้ว่าพวกมันเคยดำรงชีวิตอยู่บนพื้นพิภพจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งก็คือฟอสซิลที่ถูกขุดพบมากขึ้นเรื่อย
ๆ จากหลายแหล่งทั่วโลก
“ประเทศไทยก็มีไดโนเสาร์” คงจะมีสักคนเอ่ยประโยคที่น่าตื่นเต้นนี้ตั้งแต่ ๓๐ ปีที่แล้ว เพราะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ มีการค้นพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นับจากนั้นมาฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแล้วชิ้นเล่าก็ถูกขุดพบจากทั่วภาคอีสาน กระทั่งนำมาสู่การสร้าง “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” โดยกรมทรัพยากรธรณี ที่ภูกุ้มข้าว อ. สหัสขันธ์ จ. กาฬสินธุ์ เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงความรู้ด้านโบราณชีววิทยา โดยเน้นเรื่องไดโนเสาร์เป็นหัวข้อหลัก ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ ขณะนี้พิพิธภัณฑ์เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมแล้ว ส่วนพิธีเปิดอย่างเป็นทางการกำหนดมีขึ้นช่วงปลายปี ๒๕๕๐
ย่างก้าวในพิพิธภัณฑ์สิรินธรเปรียบเสมือนเราย้อนเวลากลับไปสู่โลกยุคดึกดำบรรพ์ การจัดแสดงด้วยเทคโนโลยีทันสมัยนั่นเองที่ช่วย “คืนชีวิต” ให้แก่ไดโนเสาร์ชนิดต่าง ๆ ขณะเรากำลังรู้สึกพิศวงกับโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่ยืนตระหง่านเบื้องหน้า จอวิดีโอขนาดยักษ์บนผนังสูงขึ้นไปก็ฉายภาพฝูงไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มหึมากำลังก้าวเดินตามกันจนแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น ตามด้วยเสียงร้องทุ้มต่ำกังวานไกล และแล้วไดโนเสาร์กินเนื้อที่ดุร้ายก็โผล่จากแนวป่า มันแผดคำรามกึกก้องน่ากลัว เมื่อมันก้มลงกัดเหยื่อที่ล่ามาได้ เราได้เห็นฟันแหลมคมเรียงรายในปากอ้ากว้าง และได้ยินเสียงเนื้อถูกฉีกกระชากดังชัดเจน...ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงมีความประสงค์ที่จะจัดสร้างโครงงาน
“ประเทศไทยก็มีไดโนเสาร์” คงจะมีสักคนเอ่ยประโยคที่น่าตื่นเต้นนี้ตั้งแต่ ๓๐ ปีที่แล้ว เพราะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ มีการค้นพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นับจากนั้นมาฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแล้วชิ้นเล่าก็ถูกขุดพบจากทั่วภาคอีสาน กระทั่งนำมาสู่การสร้าง “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” โดยกรมทรัพยากรธรณี ที่ภูกุ้มข้าว อ. สหัสขันธ์ จ. กาฬสินธุ์ เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงความรู้ด้านโบราณชีววิทยา โดยเน้นเรื่องไดโนเสาร์เป็นหัวข้อหลัก ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙ ขณะนี้พิพิธภัณฑ์เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมแล้ว ส่วนพิธีเปิดอย่างเป็นทางการกำหนดมีขึ้นช่วงปลายปี ๒๕๕๐
ย่างก้าวในพิพิธภัณฑ์สิรินธรเปรียบเสมือนเราย้อนเวลากลับไปสู่โลกยุคดึกดำบรรพ์ การจัดแสดงด้วยเทคโนโลยีทันสมัยนั่นเองที่ช่วย “คืนชีวิต” ให้แก่ไดโนเสาร์ชนิดต่าง ๆ ขณะเรากำลังรู้สึกพิศวงกับโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่ยืนตระหง่านเบื้องหน้า จอวิดีโอขนาดยักษ์บนผนังสูงขึ้นไปก็ฉายภาพฝูงไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มหึมากำลังก้าวเดินตามกันจนแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น ตามด้วยเสียงร้องทุ้มต่ำกังวานไกล และแล้วไดโนเสาร์กินเนื้อที่ดุร้ายก็โผล่จากแนวป่า มันแผดคำรามกึกก้องน่ากลัว เมื่อมันก้มลงกัดเหยื่อที่ล่ามาได้ เราได้เห็นฟันแหลมคมเรียงรายในปากอ้ากว้าง และได้ยินเสียงเนื้อถูกฉีกกระชากดังชัดเจน...ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงมีความประสงค์ที่จะจัดสร้างโครงงาน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษายุคของไดโนเสาร์
2.เพื่อดำเนินการสร้างโครงงานเรื่องไดโนเสาร์
3.เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
ขอบเขตของการจัดสร้างโครงงาน
1.ศึกษาข้อมูลจากหนังสือ
และ อินเทอร์เน็ต
2.ระยะที่ทำทั้งหมด7วัน
3.ศึกษาเรื่องยุคของไดโนเสาร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รู้ข้อมูลของไดโนเสาร์
2.ได้รู้ถึงโลกเมื่อ1000ล้านปี
3.ได้รู้ว่าทำไมไดโนเสาร์ถึงสูญพันธ์